เมนู

บทว่า เวรมฺภวาตา (ลมบน)* ได้แก่ ลมพัดไปเกินหนึ่งโยชน์.
บทว่า ปกฺขวาตา (ลมกระพือปีก) ได้แก่ ลมที่ตั้งขึ้นแก่การ
กระพือปีกโดยที่สุดแม้แมลงวัน.
บทว่า สุปณฺณวาตา ได้แก่ ลมครุฑ แม้ลมครุฑนี้จะเป็นลมเกิด
แต่ปีกก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ถือไว้ส่วนหนึ่งด้วยสามารถเป็นลมแรง.
บทว่า ตาลวณฺฑวาตา (ลมใบตาล) ได้แก่ ลมที่เกิดแต่ใบตาล
หรือวัตถุมีสัณฐานกลมอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า วธูปนวาตา (ลมใบพัด) ได้แก่ ลมที่เกิดขึ้นด้วยใบพัด
ก็ลมที่เกิดแต่ใบตาล และลมใบพัดเหล่านั้น ย่อมยังลมแม้ไม่เกิดในเกิด นี้
แม้ที่เกิดแล้วก็ให้เปลี่ยนไป.
ในบทว่า ยํ วา ปน นี้ ได้แก่ ลมที่เหลือ เว้นลมที่มาในบาลี
แล้วรวมเข้าในฐานะเป็นเยวาปนกนัย.

นิเทศอากาสธาตุภายใน


พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอากาสธาตุ ต่อไป
ที่ชื่อว่า อากาส เพราะอรรถว่า ย่อมไถไม่ได้ โดยอรรถว่ากระทบ
ไม่ได้ อากาสนั่นเอง ชื่อว่า อากาสคตํ (ธรรมชาติอันนับว่าอากาส)
เพราะถึงภาวะเป็นกากาส. ที่ชื่อว่า อฆํ (ความว่างเปล่า) เพราะเป็นสิ่งที่
กระทบไม่ได้. บทว่า วิวโร (ช่องว่าง) ได้แก่ ช่องในระหว่าง ช่องว่าง
นั้นนั่นเองชื่อว่า ววรคตํ (ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง). บทว่า อสมฺผุฏฐํ
มํสโลหิเตหิ (ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง) ได้แก่ ที่อันเนื้อและเลือดไม่
* ค่าว่า เวรมฺภวาตา หมายถึงลมพายุใหญ่

ติดกัน. ก็บทว่า กณฺณจฺฉิทฺทํ (ช่องหู) เป็นต้นนี้ เป็นแสดงประเภท
ธรรมคือเนื้อและเลือดไม่ติดนั้นนั่นแหละ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
กณฺณจฺฉิทฺทํ ได้แก่ ช่อง คือ โพรงในหูเป็นโอกาส (คือช่องว่าง) ที่
เนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า เยน* (ด้วยช่อง 2) ความว่า สัตว์ย่อมกลืนกินสิ่งที่ควร
ของกินเป็นต้นนี้ ให้เข้าไปภายใน ด้วยช่องใด. บทว่า ยตฺถ (ที่ใด)
ความว่า อาหารที่กลืนกินเข้าไป 4 อย่างนี้นั้นแหละ ย่อมตั้งอยู่ในโอกาส
(ช่องว่าง) กล่าวคือในภายในกระเพาะอันใด. บทว่า เยน (โดยช่องใด)
ความว่า อาหาร 4 อย่างนั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งย่อยแล้ว ถึงความเป็นกากแล้ว
ย่อมออกไป โดยช่องใด ช่องนั้นจากเพดานท้องถึงทวารหนักมีประมาณ 1 คืบ
4 นิ้ว เป็นที่อันเนื้อและเลือดได้ถูกต้อง คือเป็นที่อันเนื้อและเลือดไม่ติดกัน
พึงทราบว่า เป็นอากาสธาตุ.
ในบทว่า ยํ วา ปน นี้ ได้แก่ ช่องว่างทั้งหมดนี้ คือ ช่องว่าง
ระหว่างหนัง ช่องว่างระหว่างเนื้อ ช่องว่างระหว่างเอ็น ช่องว่างระหว่าง
กระดูก ช่องว่างระหว่างขน ท่านรวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัย.

นิเทศอากาสธาตุภายนอก


พึงทราบวินิจฉัยอากาสธาตุภายนอก ต่อไป
คำว่า อสมฺผุฏฺฐํ จตูหิ มหาภูเตหิ (ที่อันมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้อง)
นั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นช่องฝาเรือน ช่องประตูเป็นต้นอันมหาภูตรูป 4
* บทว่า เยน บทว่า ยตฺถ และบทว่า เยน โดยลำดับ สำนวนในพระไตรปิฎกฉบับแปลท่าน
ตัดออก แต่ถ้าไม่ตัดออกจะมีเนื้อความตามที่ท่านอรรถกถากล่าวไว้นี้.